การนับ วัน เดือน ปี ทางสุริยคติ เเละจันทรคติ

วัน เดือน ปีทางสุริยคติ

สุริยคติ เริ่มตั้งแต่วันที่ มกราคมไปจนถึง วันที่ 31 ธันวาคม โดยปีสุริยคติจะมี 12 เดือน ได้แก่

การนับเวลาสุริยคติและจันทรคติ  เดิมไทยเราใช้วันเวลาทางจันทรคติในการบันทึกเรื่องราวต่างๆ โดยใช้เวลาตามที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก  เริ่มต้นนับเดือนจันทรคติตั้งแต่ขึ้นค่ำหนึ่ง  สองค่ำ  สามค่ำ ไปจนถึงขึ้น 15 ค่ำ เรียกว่า  วันเพ็ญ ต่อด้วยแรมค่ำหนึ่ง สองค่ำ สามค่ำ ไปจนถึงแรม 15 ค่ำ  ซึ่งเรียกว่าวันเดือนดับ รวมเป็นเดือนหนึ่ง  เนื่องจากดวงจันทร์หมุนรอบโลกหนึ่งรอบเป็นเวลา  29  วันครึ่ง  หรือสองรอบจะได้ประมาณ 59 วัน จึงกำหนดเดือนทางจันทรคติให้มี 29 วันในเดือนคี่  (เรียกเดือนขาด) และ  30  วัน ในเดือนคู่ (เรียกเดือนถ้วน) สองเดือน รวมเป็น 59  วันพอดี ตรงกับข้างขึ้น และข้างแรมตามจันทรคติ
       เวลาตามจันทรคติในปฏิทิน 1 ปี   มี 12 เดือน  เท่ากับ 354  วัน ซึ่งเมื่อเทียบกับปฏิทินสากล(ซึ่งใช้วันเวลาแบบสุริยคติ  คือ วันเ วลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบเท่ากับ 365 1/4 วัน) จึงสั้นไป 11 วันเศษ ดังนั้นใน 3 ปี จึงเพิ่มเดือนพิเศษอีก 1 เดือน ที่หลังเดือน 8 เรียกว่า เดือน 8 หลังมี 30 วัน ทำให้ปีจันทรคติที่มี  13  เดือน หรือ  384 วัน เป็นปีอธิกมาส  และในรอบ 19 ปีทางจันทรคติ  จะเพิ่มวันพิเศษอีก 1 วัน ในเดือนเจ็ดทำให้มี 30 วัน (ปกติเดือนคี่มี 29 วัน) เรียกว่า ปีอธิกวาร ก็จะทำให้เวลาทางจันทรคติตามทันเวลาทางสุริยคติได้
           ส่วนวันเวลาตามแบบสุริยคติซึ่งเป็นปีที่ตรงตามฤดูกาล  ปีปกติมี  365 วัน หรือ12 เดือน ในหนึ่งเดือนมี 28 - 30- 31 วัน ในทุก 4 ปี เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน เพิ่มขึ้น 1 วัน (ทุกปี ค.ศ.ที่หารด้วย 4 ลงตัว) ปีนั้นมี 366 วัน เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน  เช่น  เมื่อ ค.ศ. 2000 หรือ พ.ศ. 2543
           

ภาพนิ่ง 1

                                   
        https://youtu.be/Auu302i8U6s



https://www.youtube.com/watch?v=scCGYkHZ860

                                   


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเรียนรู้วิชา ประวัติศาสตร์ ป.1